“โรคเอ็มเอ็ม” (MM) หรือในชื่อเต็มๆ ว่า มัลติเพิล มัยอิโลมา (Multiple Myeloma) เป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยารูปแบบหนึ่งซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งตัวของพลาสมาเซลล์ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากไขกระดูก มีการสร้างโปรตีนที่ผิดปกติในเลือด
โดยปกติพลาสมาเซลล์ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย แต่เมื่อผู้ป่วยได้ป่วยเป็นโรคเอ็มเอ็มแล้ว พลาสม่าเซลล์จะถูกเปลี่ยนให้เป็นเซลล์มะเร็งและไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ตามปกติ แต่จะสร้างเอ็มโปรตีนขึ้นมา พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ผิดปกติออกมาสู่ร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติต่อไขกระดูก ตลอดจนอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายด้วย
ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด บางคนอาจมีอาการซีดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งเป็นการยากที่จะวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง ส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าป่วยเป็นโรคเอ็มเอ็ม ก็ต้องลุกลามเข้าระยะที่ 2 หรือ 3 ที่มีอาการโลหิตจาง ปวดกระดูก กระดูกพรุน กระดูกหัก แคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งก็เป็นระยะที่การรักษาถือว่าทำได้ยากแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเอ็มเอ็มจะถูกส่งไปแผนกออร์โธปิดิกส์ หรือด้านกระดูกก่อน เพราะอาการที่แสดงออกทางร่างกายจะเป็นอาการปวดตัว ปวดหลัง กระดูกพรุน กระดูกทรุด กระดูกหัก เป็นต้น
โรคนี้พบมากในวัยผู้ใหญ่ อายุเฉลี่ยประมาณ 60 ปี พบในผิวดำมากกว่าคนขาวสองเท่า ส่วนในประเทศแถบเอเชีย คิดสัดส่วนต่อประชากร 1 แสนคน จะพบผู้ป่วย 0.8 คนในประเทศสิงคโปร์ และ 2 คนในประเทศเกาหลี สำหรับในประเทศไทยนั้นยังไม่มีการบันทึกเอาไว้เป็นสถิติที่แน่ชัด
สาเหตุ
สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยทางพันธุกรรมอาจเกี่ยวข้องกับ HLA-Cw5 และ HLA-Cw2 เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นกับเม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟซัยท์ในต่อมน้ำเหลือง ร้อยละ 50 ของผู้ป่วย พบว่ามีความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 14 เซลล์มะเร็งจะสร้างสาร IL-6 ออกมาเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดพยาธิสภาพขึ้นทั่วร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่าในพื้นที่ที่มีกัมมันตภาพรังสีมาก เช่นในพื้นที่ที่เคยทดลองนิวเคลียร์หรือที่เคยถูกระเบิดนิวเคลียร์ จะมีสัดส่วนของอัตราผู้ป่วยโรคนี้มาก
อาการ
สาเหตุของการเสียชีวิต
การรักษา
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เดินทางมาเข้ารับการรักษาจะมีอาการอยู่ในระยะที่ 2 หรือ 3 เนื่องจากอาการป่วยในระยะแรก ผู้ป่วยแทบไม่รู้สึกตัว จนต้องมีอาการทางกายก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดกระดูก ถึงจะมาพบแพทย์ ซึ่งก็ถือว่าเป็นระยะโรคที่ค่อนข้างอันตรายแล้ว การให้เคมีบำบัด ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้มากที่สุด และอาจมีการฉายแสงร่วมด้วยเพื่อลดความเจ็บปวดจากอาการปวดกระดูก สำหรับยาเคมีบำบัดที่ให้จะมีอยู่หลายสูตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะจัดสูตรยาตามอาการป่วยของโรค ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งความหวังของผู้ป่วยโรคนี้
การป้องกัน
โรคเอ็มเอ็มเป็นโรคที่ป้องกันได้ยากโรคหนึ่ง เนื่องจากไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ทุกวันนี้ยังไม่มีผลการวิจัยศึกษาปัจจัยการเกิดโรค ปัจจุบันทำได้เพียงเช็คร่างกาย คือตรวจเลือดทุกปี หรือทุก 6 เดือน หากเกิดภาวะซีดหรือโลหิตจาง ก็ให้สงสัยเอาไว้ แม้ว่าภาวะซีดจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่การสงสัยไว้ก่อนจะเป็นทางป้องกันที่ดีที่สุด
บริษัท ศูนย์ ดี เอ็น เอ จำกัด
DNA CENTER CO., LTD.
ที่อยู่:100/57 ถนนเศรษฐศิริ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
เบอร์โทร:0-2668-3129 , 0-2241-1845, 062-5711927
Line ID: dna957 แฟกซ์: 0-2241-2137
เปิดทำการ :
ทุกวัน : 9.00-20.00 น.
Copyright © 2025 บริษัท ศูนย์ ดี เอ็น เอ จำกัด . All rights reserved.