.ปัจจุบันประเทศไทยมีวิสัยทัศน์และนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้วยการใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมและอุตสาหกรรมใหม่ และกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) 10 กลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมายหลายกลุ่ม ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการแพทย์ครบวงจร เกี่ยวข้องโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในการใช้ทรัพยาการทางชีวภาพและพันธุกรรม (Biological and Genetic Resources) จากความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทย และมีการนำความรู้และเทคโนโลยีด้านชีววิทยา จีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เทคโนโลยีด้านอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตพลังงาน สารเคมีและชีวเคมี การผลิตและแปรรูปอาหาร อาหารสุขภาพ อาหารเสริม เวชสำอางค์ ชีววัตถุปัองกันและรักษาโรค วิธีตรวจวินิจฉัย ยาและเภสัชภัณฑ์ ฯลฯ เป็นต้น การประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีทางชีววิทยา จีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ สามารถจะทำให้เกิดนวัตกรรม อุตสาหกรรม การสร้างงาน การบริการ บริษัทและธุรกิจในรูปแบบและแนวทางใหม่ ขึ้นได้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
........สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ในฐานะสมาคมวิชาการด้านพันธุศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้สนใจทั่วไป ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญในการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านชีววิทยา จีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าและความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย จึงจัดการประชุมวิชาการ Recent Advances in Genomics and Genetics 2018 Conference (RAGG2018): Innovative Genomics and Genetics โดยมีเนื้อหาหลักมุ่งเน้นการใช้ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านชีววิทยา จีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมความรู้และวิชาการ 3 สาขาหลักของสมาคมฯ คือ มนุษยพันธุศาสตร์ พันธุศาสตร์เกษตร พันธุศาสตร์พื้นฐาน และกระจายความเชี่ยวชาญอยู่ในเครือข่ายวิชาการของสมาคมฯ ทั้ง 16 เครือข่าย ในการนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์เพื่อสร้างนวัตกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจและบริการ ทั้งในลักษณะต่อยอดและในแนวทางใหม่ ในปัจจุบันและอนาคต
บริษัท ศูนย์ ดี เอ็น เอ จำกัด
DNA CENTER CO., LTD.
ที่อยู่:100/57 ถนนเศรษฐศิริ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
เบอร์โทร:0-2668-3129 , 0-2241-1845, 062-5711927
Line ID: dna957 แฟกซ์: 0-2241-2137
เปิดทำการ :
ทุกวัน : 9.00-20.00 น.
Copyright © 2024 บริษัท ศูนย์ ดี เอ็น เอ จำกัด . All rights reserved.