Call Us +66 2668-3129     Email

การตรวจโครโมโซมโดยเทคนิค FISH

คำว่า FISH ย่อมาจากคำว่า Fluorescence in situ Hybridization เป็นเทคนิคพิเศษที่ใช้ในการตรวจโครโมโซมนอกเหนือจากการตรวจด้วยเทคนิคมาตรฐาน ใช้ประโยชน์ในการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมขนาดเล็กๆที่ไม่สามารถตรวจหาได้ด้วยเทคนิคมาตรฐาน หรือตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมที่ตรวจไม่พบโดยเทคนิคมาตรฐาน และช่วยให้ตรวจในจำนวนเซลล์มากๆได้ ซึ่งเหมาะกับการตรวจเพื่อติดตามการรักษาในผู้ป่วยมะเร็ง เทคนิค FISH เป็นเทคนิคที่ใช้ DNA ของยีนที่เราสนใจติดสีด้วยสารเรืองแสง (fluorescence) เข้าไปจับกับ DNA ที่อยู่ในเซลล์ของผู้ป่วย ทำให้เราสามารถมองเห็นสารเรืองแสงภายใต้กล้องจุลทรรศ์ได้มีตัวอย่างมากมายในการตรวจด้วยเทคนิค FISH ดังแสดงในภาพ ปัจจุบันนี้ห้องปฏิบัติการของเราทำการตรวจด้วยเทคนิค FISH จากตัวอย่างจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในกรณีเด็กหลังคลอดและคนไข้มะเร็งระบบโลหิต มีตัวอย่างอยู่ราวปีละ 250 ราย 

เทคนิค FISH เป็นวิธีการศึกษาโครโมโซมหรือยีนทางอณูเซลล์พันธุศาสตร์ ที่ใช้ probe ซึ่งติดสลากด้วยสาร เรืองแสง ไปจับกับโครโมโซมที่ตำแน่งที่เฉพาะเจาะจง สามารถศึกษาได้ในเซลล์ที่มีการแบ่งตัวในระยะ metaphase และ interphase โดยให้ผลการวินิจฉัยในระยะเวลาอันสั้น และสามารถบอกเปอร์เซ็นต์ของจำนวนเซลล์ปกติและผิดปกติได้ การวินิจฉัยโครโมโซมโดยเทคนิค FISH สามารถทำได้กับตัวอย่างจากเลือด น้ำคร่ำ และไขกระดูก โดยมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างเหมือนกัน แต่ใช้ตัวตรวจจับ (probe) ในการย้อมสไลด์แทนการย้อมสีเท่านั้น

     - การตรวจโครโมโซมเพศ โดยเทคนิค FISH มีประโยชน์ในการติดตามผลการปลูกถ่ายไขกระดูก กรณีที่ donor และ recipient ต่างเพศกัน

     - การตรวจ Fusion gene BCR/ABL, PML/RARA โดยเทคนิค FISH สามารถบอกเปอร์เซ็นต์ของจำนวนเซลล์ปกติ และจำนวนเซลล์มะเร็งที่มียีน rearrangement ซึ่งช่วยแก้ปัญหาในบางครั้งที่การวิเคราะห์โครโมโซมโดยวิธีการทำ karyotype ไม่ได้ผลเนื่องจากโครโมโซมระยะ metaphase มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย หรือคุณภาพของโครโมโซมไม่ดีพอที่จะทำ karyotype หรือ วิเคราะห์ได้

     - การตรวจหาบริเวณที่ขาดหายไปบนโครโมโซมที่เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการ DiGeorge syndrome (22q11.2), Prader-Willi syndrome(15q13.3) ,Williams syndrome (7q11.23) , Alagille(JAG1) syndrome และ Rubinstein-Taybi syndrome

     - การตรวจ Down’s syndrome ซึ่งเกิดจากการเพิ่มจำนวนของแท่งโครโมโซม 13,18 ,21 (trisomy 13,18,21) ในระยะ interphase โดยเทคนิค FISH ซึ่งช่วยในการตัดสินใจของแพทย์ที่ต้องทำการรักษาอย่างเร่งด่วน


ข้อบ่งชี้ของการวินิจฉัยทางด้าน Molecular Cytogenetics 

     - ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นกลุ่มอาการ Microdeletion syndrome 
     - ผู้ป่วยที่ไม่สามารถอ่านผลการวิเคราะห์โครโมโซมได้อย่างชัดเจน หรือเพื่อหา/ยืนยัน unknown segment of chromosome หรือ marker chromosome
     - ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเตรียมโครโมโซมในระยะ metaphase ได้ 
     - ผู้ป่วยที่ต้องการทราบผลด่วนใน 3-5 วัน 
     - ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาปลูกถ่ายไขกระดูกและแพทย์ต้องการทราบอัตราส่วนของเซลล์ donor/recipient 

ข้อจำกัดของการทดสอบ 
     - ไม่สามารถตรวจหาความผิดปกติในหลายๆ รูปแบบจากการทดสอบเพียง 1 ครั้ง 
     - สำหรับการทดสอบ Prader-Willi syndrome เทคนิค FISH ไม่สามารถตรวจความผิดปกติที่เกิดมาจากสาเหตุ Uniparental disomy ได้ ดังนั้นจึงควรตรวจด้วยเทคนิคอื่นเช่น methylation หรือ CA repeat 

วิธีการเก็บตัวอย่าง
     ใช้วิธีเก็บตัวอย่าง เช่นเดียวกันกับ การเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจโครโมโซมสำหรับแต่ละ specimen

 

 

บริษัท ศูนย์ ดี เอ็น เอ จำกัด
DNA CENTER CO., LTD.

ที่อยู่:100/57 ถนนเศรษฐศิริ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

เบอร์โทร:0-2668-3129 , 0-2241-1845, 062-5711927

Line ID: dna957 แฟกซ์: 0-2241-2137

เวลาทำการ

เปิดทำการ :
ทุกวัน : 9.00-20.00 น.

Gallery

Copyright © 2025 บริษัท ศูนย์ ดี เอ็น เอ จำกัด . All rights reserved.